มีประกันสุขภาพอยู่แล้วทำไมต้องซื้อเพิ่ม

ถึงแม้ว่าเราจะพึงพอใจในสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่เรามีอยู่​ แต่สำหรับการวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยง​นั้น​ มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบรอยรั่วของแผนประกันสุขภาพที่เราใช้อยู่ เพื่อการวางแผนที่รัดกุมยิ่งขึ้น สิ่งที่ควรพิจารณามีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

1.หากคุณใช้ ประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรทอง

เป็นสวัสดิการพื้นฐานทั่วไปของประชาชนทุกคนที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมหรือรับราชการ ซึ่งจะมีข้อจำกัดในการเข้ารับการรักษาพยาบาลให้ตรงกับโรงพยาบาลที่สังกัด​ โดยสามารถเลือกเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ 4​ ครั้งต่อปี​

หากเกิดเหตุฉุกเฉิน​ (ไม่เข้าข่าย​ UCEP)​ เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด​ ก็จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเอง

โรงพยาบาลใหญ่ของรัฐที่มีเครื่องมือพร้อม​ ยังกระจายไปไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ หากเราพอมีกำลังซื้อประกันสุขภาพส่วนบุคคลเอาไว้บ้าง​ ก็น่าจะช่วยดูแลคุณภาพชีวิตได้ดีกว่า​

ประเทศเราก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aged Society) แล้ว​ และกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2564 (Completely Aged Society)  และอีก 20 ปี ข้างหน้าคาดว่าประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ  นั่นคือ การเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) นั่นหมายถึง​ จะมีประชากรวัยทำงาน​ ที่เสียภาษีน้อยลง​ ภาครัฐอาจจะไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลให้กับประชากรกลุ่มสูงวัย​ได้ดีมากนัก​ ประชากรกลุ่มสูงวัยในวันนั้น​ก็คือ​ คนวัยทำงานในวันนี้​ คือพวกเรานั่นเอง​ เราจะใช้มาตรฐานการดูแลสวัสดิการจากภาครัฐในปัจจุบัน​ เป็นเครื่องมือคาดการณ์ในอนาคตไม่ได้​ เพราะรูปแบบโครงสร้างประชากรจะเปลี่ยนไป​ตามที่คาดการณ์ไว้

ดังนั้น​ เราเตรียมประกันสุขภาพส่วนบุคคลเอาไว้​ ก็จะปลอดภัยกว่า​ เพราะเมื่อถึงวัยชรา​  เราอาจจะมีโรคประจำตัวมากมายจนสมัครทำประกันไม่ได้​ ก็เป็นได้

2. หากคุณใช้ ประกันสุขภาพส่วนบุคคล​  

สัญญาหลักที่เราซื้อประกันสุขภาพพ่วงมีอายุกี่ปี​ ยาวนานเท่าสิิทธิ์ในการซื้อประกันสุขภาพของเรามั้ย​ เช่น​ ประกันสุขภาพสามารถซื้อได้ถึง​ อายุ​ 80​ ปี​ และสมัครได้ถึงอายุ​ 65​ ปี​ แต่สัญญาหลักเราคุ้มครองถึงแค่อายุ​ 70​ ปี​ ทำให้ประักนสุขภาพเราก็หมดไปด้วย​ และตอนนั้นก็สมัครใหม่ได้แล้วเพราะอายุเกิน​ หรือ​ สุขภาพไม่ดี​ สมัครไม่ได้แล้ว

สัญญาประกันสุขภาพซื้อได้ถึงอายุเท่าไหร่​ ซึ่งกรมธรรม์รุ่นเก่า​ มักซื้อได้ถึงแค่​ อายุ​ 6​0​ ปี​ หรือ​ 65​ ปี​ ซึ่ฃปัจจุบัน​ เพื่อตอบรับสังคมผู้สูงวัย​ ประกันสุขภาพรุ่นใหม่ๆ​ สามารถซื้อได้ถึงอายุ​ 75​ ปี​ หรือ​ 80​ ปีแล้ว  แต่ต้องเป็นเคสมัครใหม่​ ไม่ได้ต่อให้กรมธรรม์เล่มเก่า​ที่มีมาก่อนหน้า​ เนื่องจากคำนวณอัตราเบี้ยและความเสี่ยงคนละช่วงเวลาของโครงสร้างประชากร​ ดังนั้นควรสำรวจกรมธรรม์ในมือให้ละเอียดด้วย

วงเงินค่ารักษาพยาบาลเพียงพอต่ออัตราค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นในปัจจุบันหรือไม่ บางเล่มเราซื้อมา  10​ ปีแล้ว​ ในวันนั้นค่าห้อง​ 3,000 บาทเพียงพอ​ แต่ปัจจุบันค่าห้องต้อง​ 5,000 ​บาท​ ขึ้นไปแล้วถึงจะเพียงพอ​ จึงจำเป็นต้องตรวจสอบและซื้อประกันสุขภาพเพิ่มในส่วนต่างนั้น

3. หากคุณใช้ ประกันสุขภาพจากที่ทำงานหรือประกันสุขภาพเสริมสำหรับคนในครอบครัว​ 

สิทธิ์ประกันจะหมดไป​ เมื่อ​ลาออกจากงาน​ หรือ​ เกษียณอายุ​ จึงควรมีประกันสุขภาพส่วนบุคคลติดเอาไว้บ้าง​ หรือ​ อย่างน้อย​ก็สมัครทำประกันโรคร้ายแรงเอาไว้​ หากเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง​ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก​ กระทบต่อฐานะการเงินของตัวเราและครอบครัวแน่นอน​ โอนย้ายความเสี่ยงให้บริษัทประกันดูแลจะดีกว่า

 

ปรึกษาการวางแผนประกันสุขภาพ คลิ๊ก

วางแผนเกษียณ

Visitors: 45,138