4 คำถามสำคัญเพื่อการวางแผนเกษียณ

การวางแผนเกษียณ คือ การวางแผนการใช้ชีวิตและการเตรียมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ
โดยรูปแบบการใช้ชีวิตที่เลือก จะเป็นตัวกำหนด
 
1.มูลค่ากองทุนเกษียณที่ต้องเตรียม
2.รูปแบบทรัพย์สินที่จะใช้เป็นเครื่องมือสร้างรายได้หลังเกษียณ ว่าควรเลือกใช้เครื่องมือใดบ้าง เพื่อให้มีเงินใช้ไปได้ตลอดอายุขัยที่คาดการณ์ไว้
 
บทความนี้จะนำพาทุกท่านไปสู่การมองภาพรวมของการวางแผนเกษียณให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เพราะการวางแผนเกษียณ ไม่ใช่เพียงแค่เตรียมเงิน แต่ต้องเตรียมใจ เตรียมแผนการใช้ชีวิตในวัยเกษียณด้วย การได้ใช้ชีวิตในวัยเกษียณในแบบที่คาดหวังไว้ ถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของการวางแผนเกษียณ
 
หากเราได้ใช้ชีวิตแบบที่เราต้องการได้ถึงแม้ไม่มีรายได้จากการทำงานแล้ว
นั่นก็คือความสุขของการมีชีวิตที่เหลืออยู่
 
"4 คำถามสำคัญในการวางแผนเกษียณ" จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนได้ใกล้เคียงกับชีวิตวัยเกษียณที่คุณต้องการ
 
การตั้งคำถามที่ถูกต้อง จึงสำคัญและจำเป็นต่อการวางแผนเป็นอย่างยิ่ง
 
 
1. คุณจะใช้ชีวิตอย่างไรในวัยเกษียณ อะไรคือความสุขของคุณ คุณชอบ คุณอยากทำอะไร
บางคนมีความสุขกับการได้ทำกิจกรรมที่ไม่มีโอการทำในวัยทำงาน เช่น เดินทางท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ หรือ เข้าคอร์สเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เช่น เรียนวาดรูป เรียนเต้นรำ เรียนร้องเพลง เรียนเล่นเครื่องดนตรีต่างๆ บางคนมีความสุขกับการได้เข้าวัดทำบุญ ได้ปฏิบัติธรรม
 
แน่นอนในช่วงเกษียณวัยต้น หรือ วัยติดสังคม คุณมีพร้อมทั้งเงิน ร่างกาย และเวลา คุณสามารถทำกิจกรรมที่ชอบได้อย่างอิสระ คำถามคือ ชีวิตแบบนี้ คุณต้องเตรียมเงินเพิ่มอีกเท่าไหร่นอกจากค่าใช้จ่ายพื้นฐาน และมีงานใดบ้างที่คุณยังพอทำเพื่อสร้างรายได้ได้อยู่บ้าง ตามความสามารถของคนวัยเกษียณ
 
การคิดถึงงานที่พอทำได้ในวัยเกษียณ จะทำให้ยังไม่ต้องรีบใช้เงินก้อนเกษียณในช่วงวัยต้นมากนัก เพราะเงินกองทุนเกษียณจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเมื่อเข้าสู่เกษียณวัยกลาง หรือ วัยติดบ้าน และสำคัญที่สุดในช่วงสุดท้าย หรือวัยติดเตียง
 
ฝากจำลองเหตุการณ์ไว้ให้คุณลองคิดด้วยอีกนิดว่า "เกษียณวัยต้น" ของบางคน อยู่ในช่วงลูกๆ วัยทำงานกำลังมีหลานมาฝากให้ดูแลและอาจจะต้องพึ่งพาค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวของลูก คุณจะเตรียมการสำหรับเรื่องนี้อย่างไร หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง
 
เกษียณวัยต้นของบางคน ต้องใช้เงินไปกับการช่วยค่าใช้จ่ายในการเรียนปริญญาโทของลูก ทั้งที่คาดการณ์ไว้ว่า ส่งลูกเรียนปริญญาตรีจบแล้ว น่าจะหมดภาระแล้ว แต่ก็อดไม่ได้ ที่จะช่วยสนับสนุนหากลูกมีความสามารถเรียนต่อ หรือมีโอกาสเรียนต่างประเทศ มีหลายครอบครัวที่พบกับชีวิตเช่นนั้น เพราะคนยุคนี้มีลูกกันช้า
 
เกษียณวัยต้นอาจจะอยู่ในช่วงที่ลูกยังตั้งหลักปักฐานไม่ได้ รวมถึงอาจจะต้องช่วยสนับสนุนเป็นนายทุนทำธุรกิจให้ลูกอีกด้วย
 
แปลว่าชีวิตหลังเกษียณของเรา ไม่ใช่ของเราคนเดียว จะมีคู่สมรส ลูก หลาน ญาติสนิทมาร่วมด้วย ดังนั้น รูปแบบการใช้ชีวิต ว่าจะทำอะไร เกี่ยวข้องกับใครบ้าง มีส่วนสำคัญในการวางแผนเกษียณเป็นอย่างยิ่ง
-----
 
2. ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณของคุณปีละเท่าไหร่
 
คำนวณได้จากค่าใช้จ่ายปัจจุบันของคุณ ในส่วนที่คาดว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณ ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อจนถึงปีที่คุณคิดว่าจะเกษียณ คำนวณแล้วเป็นจำนวนเท่าไหร่ เช่น คุณคาดการณ์ค่าใช้จ่ายวัยเกษียณปีแรกของคุณ คือเดือนละ 20,000 บาท อีก 20 ปี คุณจะเกษียณ ค่าใช้จ่ายปีแรกในวัยเกษียณของคุณปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ 3% คือ เดือนละ 36,122 บาท
 
การประเมิณค่าใช้จ่ายวัยเกษียณ ต้องแยกเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็น (Need) และ ค่าใช้จ่ายเพื่อความสุขในบั้นปลาย (Want) ให้ชัดเจน คุณจะทราบว่า เงินเท่าไหร่ ที่ไม่มีไม่ได้ และ เงินเท่าไหร่ถ้ามีมากพอจะช่วยให้คุณใช้ชีวิตในวัยเกษียณอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น การประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละส่วนได้ใกล้เคียงความเป็นจริง ทำให้คุณเลือกใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสมในการเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนนั้นได้ดีอีกด้วย
 
ตัวอย่าง ค่าใช้จ่ายจำเป็น (Need) ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ค่ายาประจำตัว ค่าดูแลที่อยู่อาศัย ค่าของใช้ส่วนตัวในการดำรงชีวิต เป็นต้น ค่าใช้จ่ายเพื่อความสุข (Want) ได้แก่ ค่าทานอาหารนอกบ้าน ค่าทริปท่องเที่ยว ค่าทำกิจกรรมที่สนใจ เงินทำบุญ เงินใช้จ่ายกับสังคมเพื่อนฝูง ค่าฟิตเนส ค่าวิตามินอาหารเสริม สกินแคร์สำหรับดูแลตัวเอง เป็นต้น
 
เครื่องมือที่เลือกมาใช้เตรียมค่าใช้จ่ายส่วน Need ต้องเป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างรายได้ได้แน่นอน ปลอดภัย และเพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่ต้องการ เช่น เงินบำนาญประกันสังคม ประกันบำนาญ ค่าเช่าจากอสังหา เงินปันผลหรือดอกเบี้ยจากสินทรัพย์ทางการเงินที่มีมูลค่าไม่ผันผวน เป็นต้น
 
เครื่องมือสำหรับการเตรียมค่าใช้จ่ายส่วน Want ก็จะเป็นเรื่องของความรู้เรื่องการลงทุนมาเกี่ยวข้อง ไม่ได้หมายความว่า ให้คุณนำกองทุนเกษียณไปจัดสรรการลงทุน เพราะวัยเกษียณเป็นวัยที่รับความเสี่ยงไม่ได้แล้ว หากต้องการเตรียมเงินส่วน Want สำหรับใช้ในวัยเกษียณ คุณจำเป็นต้องเริ่มลงทุนตั้งแต่วัยทำงานซึ่งสามารถลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงได้ และคุณต้องลงทุนต่อเนื่องเพื่อวัยเกษียณจริงๆ มีระยะเวลานานพอที่จะรับความผันผวนในความเสี่ยงของการลงทุนได้ ซึ่งหากผิดพลาดไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คุณก็ยังมีเงินที่คุณเตรียมด้วยเครื่องมือปลอดภัยสำหรับค่าใช้จ่ายส่วน Need แล้ว
 
เมื่อใกล้วัยเกษียณคุณต้องปรับพอร์ตการลงทุนของคุณให้เป็นพอร์ตความเสี่ยงต่ำ เพื่อรักษามูลค่าเงินต้น เนื่องจากคุณไม่มีรายได้จากวัยทำงานมาเติมเพิ่มแล้ว
-----
 
3. กองทุนเกษียณของคุณมีมูลค่าเท่าไหร่ หรือ คุณต้องเตรียมเงินเท่าไหร่ถึงจะพอใช้ตลอดช่วงวัยเกษียณ
 
เริ่มต้นจากคุณต้องทราบค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณปีแรกในข้อ 2 ซึ่งถูกกำหนดด้วย Lifestyle วัยเกษียณของคุณนั่นเอง ค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณปีแรกจะใช้เป็นฐานการคำนวณค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณปีต่อๆไปเพราะต้องปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอัตราเงินเฟ้อ
 
แต่สำหรับบางคนค่าใช้จ่ายวัยเกษียณช่วงต้น ช่วงที่ยังออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านอยู่ อาจจะมีจำนวนมากแค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น และลดลงไปในช่วงเกษียณวัยกลางเมื่อเริ่มอยู่บ้านมากขึ้น หรือร่างกายไม่สะดวกเดินทางออกข้างนอกแล้ว และจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งในวัยเกษียณตอนปลายจากปัญหาสุขภาพวัยชรา อย่างไรก็ตามการคำนวณค่าใช้จ่ายวัยเกษียณไม่ว่าจะใช้เงินทุกปีเท่ากันหรือไม่เท่ากันในแต่ละช่วงชีวิต ก็ยังคงต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อเสมอ
 
อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการคำนวณกองทุนเกษียณ คือ อัตราผลตอบแทนที่คุณจะสามารถหาได้ในวัยเกษียณ คุณจะจัดสรรเงินก้อนวัยเกษียณอย่างไร ซึ่งจะนำไปสู่คำถามที่ 4
-----
 
4. หลังเกษียณคุณยังคงลงทุนอยู่หรือเปล่า รายได้ของคุณในวัยเกษียณมาจากไหน
มาจากลูกหลาน มาจากคู่สมรส มาจากการทำงานที่ยังมีรายได้เสริมบางส่วนอยู่ มาจากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่คุณสะสมไว้ มาจากประกันบำนาญ ประกันสังคม หรือ มาจากผลตอบแทนการลงทุน หรือ ดอกเบี้ยธนาคาร
 
สิ่งที่คุณต้องประเมินก็คือ ความสามารในการจัดการของคุณจะต้องถดถอยลงไปเรื่อยๆ คุณจะยอมรับความผันผวน ได้นานอีกสักกี่ปี ก่อนเกษียณคุณมีความรู้เรื่องการลงทุนดีแค่ไหน
 
ทรัพย์สินที่คุณมีอยู่ มีความเสี่ยงในการลดมูลค่า หรือ มีความเสี่ยงในสภาพคล่องหากต้องการการเปลี่ยนเป็นเงินสดแบบกระทันหันได้ดีแค่ไหน
 
หากรายได้หลังเกษียณของคุณผูกกับแหล่งที่มาจาก ลูกหลาน หรือ คู่สมรส คุณมีความเสี่ยงสำคัญที่ต้องคำนึงถึงหากเขาอายุสั้นกว่าคุณ คุณจะเตรียมการเรื่องนี้อย่างไร บุคคลเหล่านี้ได้ทำประกันชีวิตประกันมูลค่าความสามารถของเขาไว้เพียงพอไหม
 
คุณมีเวลาหาเงินในชีวิต
น้อยกว่าเวลาใช้เงิน
 
-----
 
ความรู้ทางการเงินและการขอคำปรึกษาจากที่ปรึกษามืออาชีพ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการวางแผนเกษียณของยุคสังคมผู้สูงวัยในปัจจุบัน
 
ด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า คุณมีเวลาหาเงินน้อยกว่าเวลาใช้เงิน คุณมีเวลาหาเงินเต็มที่ ก็เพียง 40-50 ปี แต่คุณต้องใช้เงินที่หามายาวนานถึง 80 ปีเลยทีเดียว หากบังเอิญคุณโชคดี มีอายุยืนถึง 100 ปี
 
คุณจึงต้องหาทางเพิ่มมูลค่าของเงินที่หามาหรือให้เงินช่วยคุณทำงานไปด้วย และรู้จักจัดสรรการใช้จ่ายเพื่อให้คุณมีเงินใช้ได้ตลอดชีวิต วางแผนโดยไม่คาดหวังการพึ่งพารายได้จากลูกหลานหรือความช่วยเหลือจากภาครัฐ เพราะโครงสร้างประชากรของสังคมผู้สูงวัย จะประชากรที่เสียภาษีน้อยกว่าประชากรที่ใช้ภาษีมากขึ้นเรื่อยๆ
 
คำถามที่ถูกต้อง จะนำไปสู่การค้นหาคำตอบที่ถูกต้องใกล้เคียงกับชีวิตวัยเกษียณของคุณตามที่คุณต้องการได้มากที่สุด
 
ได้คำตอบกันมาแบบไหน แบ่งปันเป็นไอเดียแชร์กันบ้างนะคะ ^^
 
รับคำปรึกษาการวางแผนเกษียณได้ที่ https://lin.ee/3ta52Vj
เพิ่มเพื่อน

  • กลัวว่าเงินเกษียณจะไม่พอหรือเปล่า ?? ไม่มีใครอยากจะพบกับฝันร้ายในวัยเกษียณ เมื่อค้นพบว่าเงินที่เตรียมไว้น้อยเกินไป ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตอย่างสุขสบาย หรือหมดลงอย่างรวดเร็วจนน...

  • รู้หรือไม่ว่า เรามีระยะเวลาทำงานหาเงินน้อยกว่าเวลาที่เราต้องใช้เงินมากถึง 2-3 เท่า เรามีช่วงเวลาหาเงินได้ประมาณ 35-45 ปีแต่เราจะต้องใช้เงินนั้นยาวไปถึง 80 ปีเลยทีเดียว ส่วนเ...

  • ยิ่งคุณรู้จักจัดการค่าใช้จ่ายให้เหลือออมได้มากเท่าไหร่ บวกกับรู้จักวิธีลงทุนให้เงินงอกเงยในความเสี่ยงที่เหมาะสม คุณก็เข้าใกล้การเกษียณเร็ว (FIRE movement) ได้มากขึ้นเท่านั้น อ...

  • 5 ประเภทของ Financial Independence คุณอยากมีชีวิตเกษียณแบบไหน ตามแนวคิดของการเกษียณเร็วแบบ FIRE Movement (Financial Independence Retire Early) ที่พูดถึงการเตรียมเงินก้อนใหญ่ เพ...

  • 4 วิธีการหาค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ Retirement Spending วิธีที่นิยมใช้ ในการคาดการณ์กองทุนเกษียณ คือ คำนวณหาค่าใช้จ่ายในปีแรกของการเกษียณ มาให้ได้ก่อน แล้วสมมติว่าทุกปีเราจะใช้เงินคง...

  • เครื่องมือทางการเงิน ที่นิยมใช้เป็นแผนเกษียณ มีได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีให้ประโยชน์และข้อควรระวังที่แตกต่างกัน จึงขอยกตัวอย่างวิธีเตรียมเงินวัยเกษียณที่เป็นที่นิยมดังนี้ 1. ออมผ่าน...

  • วิธีคำนวณกองทุนเกษียณแบบ Fix Amount Inflation Adjusted การคำนวณกองทุนเกษียณโดยเอาจำนวนเงินที่ต้องการใช้แต่ละปี คูณกับจำนวนปีที่เราคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ เป็นวิธีที่ทำให้เราคำนวณเงินออ...

  • Sequence of Returns Risk (SOR)หนึ่งในความเสี่ยงที่ทำให้เงินเก็บวัยเกษียณหมดเร็วขึ้น Sequence of Returns Risk คือ ความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการถอนเงินออกจากกองทุนที่เราลงทุนในเครื่องมื...

  • ปัจจุบันคนวัยเกษียณยังพึ่งพารายได้จากลูกหลานเป็นหลัก รองลงมาคือ บางส่วนยังต้องทำงานหารายได้ต่อ มีเป็นส่วนน้อยที่จะสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยเงินออมของตนเองที่ออมไว้ตั้งแต่วัยทำงาน แต่เ...

  • วางแผนเกษียณพร้อมลดหย่อนภาษี เลือกใช้ RMF หรือ ประกันบำนาญดี?? คำถามที่หลายคนกำลังคิดเปรียบเทียบกันอยู่ในเวลานี้ หากต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มแล้วอยากวางแผนเกษียณไปด้วย...

  • แบ่งความเสี่ยงออกเป็น 6 กลุ่ม - OUTLIVING RESOURCES - 1. Longivity Risk คาดการ์ณอายุหลังเกษียณไว้น้อยเกินไป การมีชีวิตอยู่ยาวนาน จะรับทุกความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้นได้อีกหลายเท่า ...

  • 10 ข้อผิดพลาดทางการเงินที่ทำลายเป้าหมายเกษียณก่อนวัยของคุณ การไปถึงเป้าหมายของการเกษียณได้อย่างรวดเร็ว มีเงินทำงานให้เรา ได้มีอิสรภาพในการใช้ชีวิตที่ชอบ ไม่ใช่แค่เพียงเลือกลงทุน...

  • เตรียมเงินให้ลูกเรียนหนังสือ ก็อย่าลืมเตรียมเงินเกษียณให้กับตัวเราเองในวันที่ไม่มีรายได้ด้วย พ่อแม่ทุกคนรักลูก ปรารถนาให้ลูกได้รับในสิ่งดีที่สุด การให้การศึกษาที่ดีเป็นการให้สิน...

  • เราทุกคนรู้ว่าต้องเก็บเงินไว้ใช้ในยามแก่ชรา ให้มากเพียงพอกับอายุที่มีโอกาสจะอยู่ได้ยาวนานขึ้น จนถึงอายุ 90 ปี เมื่อคิดเป็นจำนวนเงินที่คาดว่าใช้ให้เพียงพอแล้ว มันมากมายมหาศาล จนแทบอ...

  • ถ้าคุณคือคนอายุ 40-50 ปี คุณคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสังคมผู้สูงวัย ตอนนี้ประเทศไทยเป็นประเทศ "แก่ก่อนรวย" ไปแล้ว ในยุคที่เราเข้าถึงข้อมูลความรู้ในการวางแผนทางการเงินได้มา...

  • ถอนเงินเกษียณด้วยวิธี Bucket Strategy ดีกว่าจริงหรือ

Become A Better You

Visitors: 48,653