FIRE Movement รูปแบบเกษียณเร็ว 5 แบบ

5 ประเภทของ Financial Independence
 
คุณอยากมีชีวิตเกษียณแบบไหน
 
ตามแนวคิดของการเกษียณเร็วแบบ FIRE Movement (Financial Independence Retire Early) ที่พูดถึงการเตรียมเงินก้อนใหญ่ เพื่อให้สามารถเป็นสินทรัพย์ลงทุนเพื่อสร้างรายได้ให้เราเก็บกินตลอดชีวิต หากสามารถมี net worth อย่างที่ตั้งเป้าเกษียณไว้ ก็สามารถเกษียณได้
 
ซึ่งเป้าหมายที่ท้าทายอย่างหนึ่งคือ เรื่องของเวลา หากสามารถทำได้ในวัยที่ยังอายุไม่มาก เช่น 35 หรือ 40 ก็จะมีโอกาสที่จะได้ใช้ชีวิตที่ชอบ แบบที่เรายังมีไฟ มีพลังอยู่
 
 
ขนาดของกองทุนเกษียณสำหรับแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ Life style ที่คิดจะใช้หลังเกษียณ ซึ่งจะเป็นตัวแปรตั้งต้นในการคำนวณกองทุนเกษียณ
 
การคำนวณกองทุนเกษียณ ใช้หลัก 4% Rule of Thumb กองทุนเกษียณจะเท่ากับ 25 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อปี ถ้าต้องการค่าใช้จ่ายต่อปีน้อย กองทุนเกษียณที่ต้องเตรียมก็น้อยตามไปด้วย โอกาสเกษียณเร็วก็จะมีมาก
 
 
  
 
-----
 
บทความนี้จะมาแนะนำ 5 ประเภทของ FI
 
แบบไหนที่น่าจะเหมาะกับคุณ มาติดตามกันค่ะ
 
1.Lean FI เกษียณแบบพอเพียง
 
รูปแบบการใช้ชีวิตหลังเกษียณจะเป็นการใช้ชีวิตอยู่ในที่ที่ค่าครองชีพไม่สูง เช่น นอกเมือง อาจจะวางแผนย้ายที่อยู่ เมื่อคิดจะเกษียณ เงินที่เตรียมไว้ จะรองรับเพียงแค่ ค่าใช้จ่ายพื้นฐาน เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม แบบสมถะ ใช้ชีวิตแบบแนวมินิมอล อยู่กับธรรมชาติ
 
 
เงินที่เตรียมจะไม่รองรับถึงการใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงต่างๆ เช่นการท่องเที่ยว การจับจ่ายใช้สอยอื่นๆ ดังนั้นต้องถามตัวเองว่า เรามีความสุขกับรูปแบบชีวิตแบบนี้ไหม ถ้าเราชอบแบบนี้ ก็สามารถใช้แนวคิด Lean FI ไปคำนวณกองทุนเกษียณได้
 
-----
 
2.Regular FI เกษียณแบบรักษารูปแบบชีวิตคงเดิม
 
ตัวเลขที่นำมาคำนวณกองทุนเกษียณ จะเป็นตัวเลขตามค่าใช้จ่ายจริงๆที่เราใช้จ่าย โดยรักษามาตรฐานความเป็นอยู่แบบเดิม ก่อนเกษียณและหลังเกษียณ ซึ่งการคำนวณค่าใช้จ่ายปัจจุบันออกมา ก็ต้องคิดเผื่ออัตราเงินเฟ้อ ไปถึงปีที่วางแผนจะเกษียณด้วยว่า เวลานั้นเป็นเงินเท่าไหร่
 
 
เช่น ปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายที่ต้องการคือเดือนละ 30,000 บาท หากต้องการเกษียณอีก 10 ปีข้างหน้า สมมติว่าเงินเฟ้อ 3% ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมคือ 40,317 บาทต่อเดือน 
 
กองทุนเกษียณที่ต้องมีในอีก 10 ปีข้างหน้า คือ 40,317×12×25 = 12,095,100 บาท
 
ค่าใช้จ่ายของ Regular FI จะต้องครอบคลุมทั้งค่าใช้จ่ายพื้นฐานและค่าใช้จ่ายเพื่อสิ่งอำนวยความสะดวกและกิจกรรมต่างๆเช่น การท่องเที่ยว การออกสังคมพบปะผู้คน
 
-----
 
3.FAT FI เกษียณแบบชีวิต luxury
 
คือการเกษียณที่คาดหวังการใช้ชีวิตที่สุขสบายกว่าเดิม มีเป้าหมายท่องเที่ยว และ ให้รางวัลชีวิตกับตัวเอง กองทุนเกษียณจึงไม่ได้เตรียมแค่ค่าใช้จ่ายพื้นฐาน แต่เตรียมเผื่อ life style ที่ใฝ่ฝันจะใช้ด้วย เงินที่เตรียมต้องเป็นเงินก้อนใหญ่ อาจจะทำให้แผนเกษียณเลื่อนออกไป เพราะต้องใช้เวลาเข้าช่วย
 
 
คนที่คิดจะเกษียณแบบนี้ จะต้องมีเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงของความผันผวนตลาดไว้ด้วย คือมีเงินลงทุนอยู่ในที่ปลอดภัย สร้างรายได้หลังเกษียณที่แน่นอนอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น ประกันบำนาญที่มากพอกับค่าใช้จ่ายพื้นฐาน ทำให้สามารถเลี่ยงการถอนเงินออกมาใช้จ่ายในยามที่ตลาดมีความผันผวนได้ จึงจะสามารถคงเงินกองทุนเกษียณให้เติบโตต่อไป รองรับ FAT FI Lifestyle
 
-----
 
4.Barista FI เกษียณแบบที่ยังทำงาน Part time ต่อ
 
รูปแบบการเกษียณแบบนี้คือ มีกองทุนเกษียณที่สามารถสร้างรายได้ รองรับค่าใช้จ่ายบางส่วนได้ จึงสามารถลาออกจากงานหลักได้ และ มาทำงานเสริม เช่น เป็นบาริสต้าในร้านกาแฟสตาร์บั๊ค (ที่มาของชื่อ FI แบบนี้) เพื่อรับสิทธิ์สวัสดิการประกันสุขาพที่สตาร์บั๊คให้กับพนักงาน part time ด้วย และหารายได้อีกส่วนหนึ่งมาเติมเต็มกองทุนเกษียณ ก็สามารถมีชีวิตที่ relax มากขึ้นได้ ไม่ต้องเครียดกับงานหลัก
 
 
ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการค่าใช้จ่ายเดือนละ 40,000 บาท ต้องมีกองทุนเกษียณมูลค่า 12,000,000 บาท ถึงจะเกษียณได้ แต่ถ้าวางแผนเกษียณแบบบาริสต้า ก็สามารถเกษียณที่เงินกองทุนมูลค่า 6,000,000 บาท และ ลาออกมาทำงาน part time หารายได้ส่วนที่ขาดมาเติมเต็ม
 
การเกษียณแบบนี้จะทำให้เป้าหมายเกษียณเร็วเป็นไปได้มากขึ้น
 
-----
 
5.Coast FI เกษียณแบบลงทุนครั้งเดียว
 
การวางแผนเกษียณแบบ Coast FI คือ เก็บสะสมเงินให้ได้ก้อนหนึ่ง และนำไปลงทุนระยะยาวแบบดอกเบี้ยทบต้น ในระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่ถอนออกมาใช้และไม่ลงทุนเพิ่มอีกเลย ปล่อยให้เงินเกิดผลตอบแทนทบต้น จนเงินกองทุนเติบโตถึงขนาดเงินกองทุนเกษียณที่พอใจ จึงจะเกษียณได้ เหมือนการเดินไปสุดทางอยู่ริมขอบหน้าผา
 
 
 
ตัวอย่างเช่น โจ เรียนจบอายุ 20 ปี มีรายได้ปีละ 60,000 $ เก็บเงินปีละ 20% ทุกปี ไปอีก 10 ปี ที่ผลตอบแทนการลงทุน 6% เมื่ออายุ 30 ปี โจจะมีเงิน 158,169 $ แล้วโจนำเงินก้อนนี้ไปลงทุนแบบปล่อยให้อัตราผลตอบแทนทบต้น โดยไม่นำเงินเข้าไปลงทุนเพิ่มอีกเลย ณ.อายุ 65 ปี โจ จะมีเงิน 1,215,700 $ เพียงพอสำหรับการเกษียณเก็บกินไปตลอดชีวิต
 
-----
 
รูปแบบการตั้งเป้า FI ในแต่ละแบบ มีความเหมาะสมตาม life style ของแต่ละบุคคล เราต้องเลือกสิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปได้ต่อตัวเรามากที่สุด
 
-----
 
ที่เป็นที่นิยมกัน คือ การผสมระหว่าง Regular FI และ Barista FI เพราะการลดมาตรฐานความเป็นอยู่แบบ Lean FI อาจจะทำได้ยาก และการเกษียณแล้วยังทำงานสร้างรายได้ต่อแบบ Barista ก็จะช่วยให้ชีวิตหลังเกษียณไม่น่าเบื่อ เรายังรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง และ การหารายได้ต่อไปได้เรื่อยๆ ทำให้ เป้าเกษียณเร็ว เป็นไปได้มากขึ้น เพราะไม่ต้องเตรียมเงินก้อนใหญ่จนเกินกำลัง
 
อ่านมาถึงตรงนี้ มาแชร์ให้ฟังกันบ้างนะคะ ว่าท่านมีแผนเกษียณเป็น FI แบบไหนค่ะ
 
-----
อ้างอิงบทความ
 
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
ปรึกษาวางแผนทางการเงิน :
Line : https://lin.ee/s03xbZv
 ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
กดติดตามและกระดิ่งแจ้งเตือน เพื่อไม่พลาดอัพเดทความรู้ใหม่ๆ
 
 

วางแผนการเงิน


  • กลัวว่าเงินเกษียณจะไม่พอหรือเปล่า ?? ไม่มีใครอยากจะพบกับฝันร้ายในวัยเกษียณ เมื่อค้นพบว่าเงินที่เตรียมไว้น้อยเกินไป ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตอย่างสุขสบาย หรือหมดลงอย่างรวดเร็วจนน...

  • การวางแผนเกษียณ คือ การวางแผนการใช้ชีวิตและการเตรียมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ โดยรูปแบบการใช้ชีวิตที่เลือก จะเป็นตัวกำหนด 1.มูลค่ากองทุนเกษียณที่ต้องเตรียม 2.รูปแบบทรัพย์สินที่จะ...

  • รู้หรือไม่ว่า เรามีระยะเวลาทำงานหาเงินน้อยกว่าเวลาที่เราต้องใช้เงินมากถึง 2-3 เท่า เรามีช่วงเวลาหาเงินได้ประมาณ 35-45 ปีแต่เราจะต้องใช้เงินนั้นยาวไปถึง 80 ปีเลยทีเดียว ส่วนเ...

  • ยิ่งคุณรู้จักจัดการค่าใช้จ่ายให้เหลือออมได้มากเท่าไหร่ บวกกับรู้จักวิธีลงทุนให้เงินงอกเงยในความเสี่ยงที่เหมาะสม คุณก็เข้าใกล้การเกษียณเร็ว (FIRE movement) ได้มากขึ้นเท่านั้น อ...

  • 4 วิธีการหาค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ Retirement Spending วิธีที่นิยมใช้ ในการคาดการณ์กองทุนเกษียณ คือ คำนวณหาค่าใช้จ่ายในปีแรกของการเกษียณ มาให้ได้ก่อน แล้วสมมติว่าทุกปีเราจะใช้เงินคง...

  • เครื่องมือทางการเงิน ที่นิยมใช้เป็นแผนเกษียณ มีได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีให้ประโยชน์และข้อควรระวังที่แตกต่างกัน จึงขอยกตัวอย่างวิธีเตรียมเงินวัยเกษียณที่เป็นที่นิยมดังนี้ 1. ออมผ่าน...

  • วิธีคำนวณกองทุนเกษียณแบบ Fix Amount Inflation Adjusted การคำนวณกองทุนเกษียณโดยเอาจำนวนเงินที่ต้องการใช้แต่ละปี คูณกับจำนวนปีที่เราคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ เป็นวิธีที่ทำให้เราคำนวณเงินออ...

  • Sequence of Returns Risk (SOR)หนึ่งในความเสี่ยงที่ทำให้เงินเก็บวัยเกษียณหมดเร็วขึ้น Sequence of Returns Risk คือ ความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการถอนเงินออกจากกองทุนที่เราลงทุนในเครื่องมื...

  • ปัจจุบันคนวัยเกษียณยังพึ่งพารายได้จากลูกหลานเป็นหลัก รองลงมาคือ บางส่วนยังต้องทำงานหารายได้ต่อ มีเป็นส่วนน้อยที่จะสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยเงินออมของตนเองที่ออมไว้ตั้งแต่วัยทำงาน แต่เ...

  • วางแผนเกษียณพร้อมลดหย่อนภาษี เลือกใช้ RMF หรือ ประกันบำนาญดี?? คำถามที่หลายคนกำลังคิดเปรียบเทียบกันอยู่ในเวลานี้ หากต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มแล้วอยากวางแผนเกษียณไปด้วย...

  • แบ่งความเสี่ยงออกเป็น 6 กลุ่ม - OUTLIVING RESOURCES - 1. Longivity Risk คาดการ์ณอายุหลังเกษียณไว้น้อยเกินไป การมีชีวิตอยู่ยาวนาน จะรับทุกความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้นได้อีกหลายเท่า ...

  • 10 ข้อผิดพลาดทางการเงินที่ทำลายเป้าหมายเกษียณก่อนวัยของคุณ การไปถึงเป้าหมายของการเกษียณได้อย่างรวดเร็ว มีเงินทำงานให้เรา ได้มีอิสรภาพในการใช้ชีวิตที่ชอบ ไม่ใช่แค่เพียงเลือกลงทุน...

  • เตรียมเงินให้ลูกเรียนหนังสือ ก็อย่าลืมเตรียมเงินเกษียณให้กับตัวเราเองในวันที่ไม่มีรายได้ด้วย พ่อแม่ทุกคนรักลูก ปรารถนาให้ลูกได้รับในสิ่งดีที่สุด การให้การศึกษาที่ดีเป็นการให้สิน...

  • เราทุกคนรู้ว่าต้องเก็บเงินไว้ใช้ในยามแก่ชรา ให้มากเพียงพอกับอายุที่มีโอกาสจะอยู่ได้ยาวนานขึ้น จนถึงอายุ 90 ปี เมื่อคิดเป็นจำนวนเงินที่คาดว่าใช้ให้เพียงพอแล้ว มันมากมายมหาศาล จนแทบอ...

  • ถ้าคุณคือคนอายุ 40-50 ปี คุณคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสังคมผู้สูงวัย ตอนนี้ประเทศไทยเป็นประเทศ "แก่ก่อนรวย" ไปแล้ว ในยุคที่เราเข้าถึงข้อมูลความรู้ในการวางแผนทางการเงินได้มา...

  • ถอนเงินเกษียณด้วยวิธี Bucket Strategy ดีกว่าจริงหรือ
Visitors: 45,131