4 วิธี Retirement Spending

เพิ่มเพื่อน

4 วิธีการหาค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ Retirement Spending

วิธีที่นิยมใช้ ในการคาดการณ์กองทุนเกษียณ คือ คำนวณหาค่าใช้จ่ายในปีแรกของการเกษียณ มาให้ได้ก่อน

 

แล้วสมมติว่าทุกปีเราจะใช้เงินคงที่ โดยใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 3% แล้วนำเงินที่จะใช้แต่ละปีที่เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ มาคูณกับจำนวนปีที่จะใช้ชีวิตในวัยเกษียณ เราก็สามารถคำนวณกองทุนเกษียณที่ต้องเตรียมไว้ได้

 

จำนวนเงินของกองทุนเกษียณที่ต้องเตรียม

หากประเมินไว้ต่ำเกินไป แน่นอน ผลคือ ชีวิตจะลำบากจากการที่มีเงินไม่พอใช้ยามชรา

หากประเมินไว้สูงเกินไป ผลคือ
•ต้องลงทุนเสี่ยงมากขึ้น เพราะเห็นว่าเงินที่เตรียมไว้ไม่พอ ต้องเร่งหาผลตอบแทนการลงทุนก่อนถึงวัยเกษียณ
•รู้สึกถอดใจกับการวางแผนเกษียณไปเลย

ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณในปีแรก จึงมีความสำคัญเพราะจะเป็นตัวแปรตั้งต้นในการคำนวณกองทุนเกษียณนั่นเอง

-----

ในบทความนี้ ได้รวบรวม 4 วิธีคำนวณค่าใช้จ่ายวัยเกษียณ เพื่อนำมาคำนวณกองทุนเกษียณ ให้ใกล้เคียงความเป็นไปได้มากที่สุด มีดังนี้

1) Replacement Ratio คือ การคาดว่าหลังเกษียณจะใช้จ่ายอยู่ประมาณ 50-80% ของรายได้ก่อนเกษียณ

การหารายได้ปีก่อนเกษียณ ก็จะคำนวณจากรายได้ปัจจุบัน และปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราการเพิ่มของเงินเดือนโดยประมาณ ตัวอย่างเช่น

อายุ 40 ปี มีรายได้ปีละ 1,000,000 บาท คาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้นทุกปีๆละ 5% ณ.อายุ 60 ปี จึงคาดว่าจะมีรายได้ปีละ 2,526,950 บาท

ถ้ากำหนด replacement ratio = 50% ณ.อายุ 61 ปี ค่าใช้จ่ายวัยเกษียณปีแรก = 1,263,475 บาท

 

มีงานวิจัยของ Health and Retirement Study : calculations by Tao Guo พบว่า เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่ง ค่าใช้จ่ายไม่ได้เพิ่มตามอัตราเดียวกัน คือ คนเราจะมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอยู่แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น

ดังนั้นคนรายได้ต่ำ replacement ration อาจจะเป็น 80% คนรายได้ปานกลางอาจจะเป็น 70% ส่วนคนรายได้สูง replacememt ratio อาจจะอยู่ที่ 50% นั่นเอง

-----

2) ประมาณจากค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ ด้วยการคาดการณ์ล่วงหน้าจากค่าใช้จ่ายปัจจุบัน แล้วปรับเพิ่มด้วยอัตราเงินเฟ้อ ณ.ปีที่จะเกษียณอายุ เพื่อหาค่าใช้จ่ายปีแรกของวัยเกษียณ ตัวอย่างเช่น อายุ 40 ปี มีค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะใช้ ณ.อายุ 60 ปี อยู่ที่ปีละ 500,000 บาท หากอัตราเงินเฟ้อ 3% อีก 20 ปี จะเป็นเงิน 903,056 บาท คือ ค่าใช้จ่ายปีแรกของวัยเกษียณ (initial withdrawal rate) = 903,056 บาทนั่นเอง

 

3) Age Banding Method ผู้คิดค้นคือ Prof.Somnath Basu โดยจะแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 3 ส่วน และมีอัตราเงินเฟ้อของค่าใช้จ่ายแต่ละตัวที่แตกต่างกัน ไม่ได้ใช้เงินเฟ้อคงที่ เหมือน 2 วิธีแรก และ มี factor มาปรับค่า lifestyle ณ.อายุ 65,75,85 อีกด้วย แปลว่า ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณไม่ได้คงที่ แต่เปลี่ยนตามช่วงอายุ

3 ส่วนของค่าใช้จ่าย คือ
basic living จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามอายุ
health care จะเพิ่มขึ้นมากโดยใช้ inflation rate 7%
สันทนาการ leisure จะลดลงมาก เมื่ออายุเพิ่มขึ้น

 

วิธีนี้ทำให้เห็นภาพว่า แต่ละช่วงของชีวิต lifestyle เปลี่ยนไป ค่าใช้จ่ายแต่ละตัวก็เปลี่ยนไป และ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เท่ากัน จะช่วยให้เรามองภาพการคำนวณหาค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณที่ยาวนาน ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงยิ่งขึ้น

-----

4) Annual Take Home Pay Method
คนที่มีรายได้ 1-2 ทาง และ ทำงบการเงินส่วนบุคคลมาตลอด จะรู้ว่า Annual Take Home Pay ซึ่งก็คือ เงินได้หลังหักภาษีและกองทุน secutrity fund ต่าง ๆของตัวเอง เป็นเท่าไหร่

estimate retirement spending = annual take home pay - เงินออมระยะยาว -ค่าใช้จ่ายที่ดูแลบุตร - หนี้สินผ่อนชำระ + new retirement expense (เช่นการไปเที่ยวหลังเกษียณ)

วิธีที่ 4 เป็นวิธีประมาณการณ์ให้เห็นเป็นภาพคร่าวๆ สำหรับคนที่ทำงบการเงินส่วนบุคคลเป็นประจำอยู่แล้ว จะวางแผนด้วยวิธีนี้ได้ง่าย

-----

ประเด็นสำคัญชวนคิด ของการคิดค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ คือ ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณไม่ได้คงที่ทุกปี

 

แนวคิด Retirement Spending Smile ของ คุณ David M.Blanchett ,PhD,CFA,CFP กล่าวว่า

กราฟค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะคล้ายกับรอยยิ้ม โดยช่วงแรกของวัยเกษียณ ค่าใช้จ่ายจะลดลง 1-2% ทุกปี เมื่อถึงจุดหาหนึ่ง ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นจากปัญหาสุขภาพในช่วงท้าย

เมื่อเราพอจะทราบค่าใช้จ่ายหลังเกษียณแล้วว่าเป็นจำนวนเท่าไหร่ สิ่งที่ต้องคิดต่อคือ เราจะมีแหล่งรายได้หลังเกษียณจากทางไหนบ้าง

ขอยกตัวอย่างงานวิจัยของคนอเมริกันว่ามีรายได้หลังเกษียณจากแหล่งไหนบ้าง

Retirement Income Generator (RIG)

สำหรับประเทศไทย แหล่งรายได้หลังเกษียณ ได้แก่ บำนาญชราภาพประกันสังคม เบี้ยยังชีพคนชรา ประกันบำนาญ ค่าเช่า ค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ ผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ และการนำบ้านไปจำนอง แบบ reverse mortgage

-----

สำหรับการวางแผนเกษียณที่ดีนั้น คุณสมบัติ 3 ข้อของแหล่งรายได้ยามเกษียณที่ควรมี คือ มีความน่าเชื่อถือ มีความยั่งยืน และ มีความเพียงพอ ซึ่งเครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งไม่สามารถทำให้ได้ครบ ต้องอาศัยการวางแผนและการบริหารจัดการก่อนเกษียณเตรียมตัวให้ดี เพื่อการเกษียณอย่างมีความสุข

เรียนรู้เพิ่มเติม ชมคลิป https://youtu.be/QP1GmjptYOE

เพิ่มเพื่อน

วางแผนประกันชีวิต

Visitors: 45,665