เลือกประกันชีวิตให้คุ้มค่าทั้งลดหย่อนภาษีและวางแผนการเงิน

หากท่านกำลังหาประกันลดหย่อนภาษีอยู่

ซื้ออย่างไรให้คุ้มค่าทั้งภาษีและการวางแผนทางการเงิน

 
-----
คำถามแรกของการซื้อประกันลดหย่อนภาษีคือ
เบี้ยประกันที่ใช้ลดหย่อน จะได้ภาษีคืนมาเท่าไหร่
 
คิดง่ายๆก็คือ ฐานภาษีสูงสุดของเราแตะฐานไหน เราจะได้เงินภาษีคืนเป็น %ฐานภาษีนั้น × เบี้ยประกัน เช่น
ฐานภาษีสูงสุดของเรา คือ 20%
 
  • เบี้ยประกัน 100,000 บาท จะขอคืนภาษีได้ 20,000 บาท
 
สิ่งที่ต้องคิดต่อคือ เราอยากได้ภาษี จำนวน 20,000 บาทคืนมา แต่เรามีความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันอย่างต่อเนื่องทุกปีที่จำนวน 100,000 บาทไหม
 
บางคนก็ต้องยอมเสียสิทธิ์ลดหย่อนภาษีไป เพราะไม่สามารถมีสภาพคล่องเหลือมาออมได้
 
  • แต่ถ้าทำได้ เราก็เหมือนได้เงินออมเพิ่มจากภาครัฐ คือ รัฐช่วยออม ทำให้เรามีเงินเก็บระยะยาวพร้อมมีความคุ้มครอง เป็นความมั่นคงของชีวิตไปด้วย
-----
 
เบี้ยประกันที่ไม่เกินความสามารถในการชำระเบี้ย อยู่ประมาณ 10% ของรายได้ คือถ้าจะชำระเบี้ย 100,000 บาทได้ทุกปีไม่มีสะดุด ควรมีรายได้อย่างน้อยปีละ 1,000,000 บาท
แปลว่า อีก 90% ของรายได้ สำหรับการใช้จ่าย และ การลงทุน น่าจะเพียงพอแล้ว
การกันเงินออกมา 10% เพื่อซื้อความเสี่ยง วางแผนประกัน และการออมระยะยาว ไม่น่าจะติดขัดอะไร
 
-----
 
เมื่อรู้งบประมาณที่สามารถจัดสรรมาทำประกันได้ ก็มาวางแผนประกันกันต่อ โดยสำรวจปัจจัยของเราดังนี้
 
1.ความคุ้มครองเป็นทุนประกันชีวิตที่ควรมีและยังขาดอยู่
2.ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง เดิมที่มี และ ที่ต้องการเพิ่ม
3.การออมระยะยาวเพื่อเตรียมเงินบำนาญเกษียณ
 
ด้วยเงินก้อนเดียวกัน เราคงไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้เต็มที่ทุกข้อ เราต้องเทน้ำหนักไปที่อย่างใดอย่างหนึ่ง และ จัดสรรอย่างเหมาะสมตามความสำคัญที่มีผลกระทบ
 
เนื่องจาก ประกันชีวิตที่เน้นคุ้มครองจะไม่ให้ผลตอบแทนการออมที่ดี และ ประกันชีวิตที่ให้ผลตอบแทนการออมที่ดี ทุนประกันจะไม่สูงถ้าเทียบกับเบี้ยที่ชำระไป
 
ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายเป็นเบี้ยจ่ายทิ้ง ถ้าจ่ายส่วนนั้นมากไป ก็ไม่เหลือซื้อทุนประกันสูง และ ไม่เหลือออม แต่ถ้าทำน้อยไป เราก็จะไม่ได้สวัสดิการที่เราต้องการ
 
แนะนำว่า ให้ขอข้อเสนอจากตัวแทนมาหลายๆประเด็น และ ขอคำปรึกษาให้เขาช่วยเราจัดสรรงบให้เหมาะกับแผนชีวิตของเราค่ะ
-----
 
  • ข้อคิดเห็น
1.หลายคนซื้อประกันเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีโดยไม่ได้ศึกษาคุณประโยชน์ของการทำประกันอย่างแท้จริง จึงเลือกแต่แผนเงินออมที่ผลตอบแทนสูงสุด และเสียโอกาสในการได้รับความคุ้มครองจากการทำประกันไป
ซึ่งหากต้องการผลตอบแทนสูงๆ ควรไปใช้เรื่องการวางแผนการลงทุนดีกว่า
ถ้าเราจะซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มประกันแล้ว ควรใช้ประโยชน์ในแง่ของ protection และ retirement เป็นหลัก จะคุ้มค่ากว่า เพราะเป็นประโยชน์โดยตรงของการทำประกัน
 
2.หลายคนเลือกชำระเบี้ยระยะสั้น 3 หรือ 5 ปี คุ้มครองระยะสั้น 10 ปี เพราะคิดว่า วางแผนชำระสั้นๆ หลังจากนั้นคงมีโครงการใหม่ที่น่าสนใจกว่า แต่การสมัครทำประกันชีวิต อิงกับสุขภาพที่ดีของผู้สมัครด้วย ซึ่งเมื่อต้องหาประกันฉบับใหม่ อาจจะติดปัญหาสุขภาพ สมัครอีกไม่ได้ก็ได้
 
3. แบบประกันรุ่นใหม่ ไม่ได้มีผลตอบแทนดีกว่า แบบประกันรุ่นเก่าเสมอไป เพราะภาวะการลงทุนในแต่ละช่วงเวลาไม่เหมือนกัน การถือสัญญาที่การันตีผลตอบแทนไว้สัก 1 ฉบับในระยะยาวๆ 20-30 ปี ก็เป็นการวางพื้นฐานการเก็บออมเงินที่ปลอดภัยของเราได้ อย่าลืมว่าเงินที่เรานำมาทำประกัน แค่เพียง 10% ของรายได้ ดังนั้น เงินจำนวนนี้ไม่ควรมีความเสี่ยง และ สร้างผลตอบแทนการันตีให้เรา แยกออกจาก เงินอีก 90% ของเราที่ใช้บริโภคและลงทุนค่ะ
 
-----
 
สรุปขั้นตอน การวางแผนประกัน เพื่อลดหย่อนภาษี
1. ตรวจสอบฐานภาษีสูงสุดของเราว่าอยู่ฐานเท่าไหร่
2. ตรวจสอบสภาพคล่องตอนนี้ของเราว่า สามารถชำระเบี้ยได้ปีละเท่าไหร่
3. นำมาคิดเป็นสิทธิ์ลดหย่อน เป็นเงินเท่าไหร่
  • ระหว่างสภาพคล่อง กับ ภาษีที่ได้คืนมา คุ้มค่าไหม
4. เมื่อสรุปยอดเงินได้แล้ว นำมาเลือกแผนประกัน
5. ศึกษาประโยชน์ของประกันให้ครบทุกด้าน โดยปรึกษาตัวแทน ขอดูข้อเสนอเบี้ยประกัน
6. จัดสรรงบ ให้สมดุล ระหว่างความคุ้มครอง และ การออมเงิน
 
เพียงเท่านี้เราก็ได้ซื้อประกันอย่างคุ้มค่า ทั้งประโยชน์จากการทำประกัน และ รักษาสิทธิ์การลดหย่อนภาษีแล้วค่ะ
ประกันชีวิตที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ มีทั้ง แบบประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันเน้นออม และ ประกันบำนาญ อ่านเพิ่มเติมเรื่องแบบประกันที่ลดหย่อนภาษีได้ที่ https://bit.ly/35O2v0l
หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย
หากสนใจอ่านบทความอื่นของเงินทองต้องวางแผนติดตามได้ที่ 

วางแผนการเงิน

Visitors: 48,653