สิทธิ์ในการรับมรดกของคู่สมรส

รู้หรือไม่ว่าการรับมรดกของคู่สมรส ไม่ใช่ครึ่งหนึ่งของมรดก แต่อาจจะมากกว่านั้น
 
วันนี้เรามาดูวิธีการแบ่งมรดกของคู่สมรสกันค่ะ
เริ่มจาก "คู่สมรส" ที่มีสิทธิ์ได้รับมรดก ต้องเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายคือจดทะเบียนสมรสเท่านั้น แต่การอยู่กินฉันสามี ภรรยา เป็นเวลาหลายสิบปีโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่ถือว่าเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายค่ะ
 
 
 
การแบ่งมรดกนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในพินัยกรรม จะให้สิทธิ์กับทายาทโดยธรรม 6 ลำดับ ดังต่อไปนี้
1.ผู้สืบสันดาน
2.บิดา มารดา
3.พี่ น้อง ร่วมบิดา และ มารดา
4.พี่ น้อง ร่วมบิดา หรือ มารดา
5.ลุง ป้า น้า อา
6.ปู่ ย่า ตา ยาย
 
สิทธิ์ในการรับมรดก ใช้หลัก "ญาติสนิท ตัดญาติห่าง" คือ หากมีทายาทลำดับชั้นไหนมีสิทธิ์รับมรดก ก็จะจัดแบ่งเลย ไม่ตกทอดถึงทายาทลำดับถัดไป
 
ยกเว้น ลำดับที่ 1 และ 2 จะสามารถรับมรดกร่วมกัน ได้ในสัดส่วนเท่ากัน
ขอยกตัวอย่างการรับมรดกในกรณีที่มีทายาทลำดับ 1 และ 2 โดยไม่มีคู่สมรสก่อนนะคะ
 
  • ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับมรดก มีแค่บุตร แต่บิดา มารดา ไม่อยู่แล้ว บุตรจะรับมรดก 100%
  • ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับมรดก คือ บุตร และ บิดา มารดา จะแบ่งมรดกเป็น 3 ส่วนเท่ากัน คือ คนละ 33.33%
  • ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับมรดก คือ บุตร และ บิดา หรือ มารดา จะแบ่งมรดกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน คือ คนละ 50%
 
หากไม่มีทายาทลำดับ 1 และ 2 คือ ไม่มีบุตรและบิดา มารดา มรดกจะตกเป็นของทายาทลำดับที่ 3 และแบ่งในสัดส่วนเท่ากันในทายาทลำดับ 3 ไม่ตกไปถึงทายาทลำดับที่ 4 นี่จึงเรียกว่า ญาติสนิท ตัดญาติห่าง
 
เมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิต ทรัพย์สินจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.สินส่วนตัว
2.สินสมรส
 
คู่สมรสจะได้รับครึ่งหนึ่งของสินสมรสไปก่อน
 
สินส่วนตัวและสินสมรสอีกครึ่งหนึ่ง จะถูกแบ่งตาม "พินัยกรรม" ส่งมอบให้ผู้รับ ที่ระบุตามพินัยกรรม ซึ่งเป็นใครก็ได้ตามประสงค์ของเจ้ามรดก โดยที่ไม่ต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับเจ้ามรดก
ส่วนทรัพย์สินที่อยู่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ใน "พินัยกรรม" จะถูกส่งมอบให้กับ "ทายาทโดยธรรม"
โดยทั่วไปมักเข้าใจผิดกันว่า คู่สมรสมีสิทธิ์ครึ่งหนึ่งของมรดกเสมอ แต่จริงๆแล้วอาจจะมากกว่านั้นก็ได้ค่ะ
ถึงแม้คู่สมรสไม่ได้อยู่ในทายาทโดยธรรม 6 ลำดับ แต่คู่สมรส เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง ร่วมกับทายาทโดยธรรม 6 ลำดับ ในสัดส่วนดังนี้
 
-----
 
1.กรณีเจ้ามรดกมีผู้มีสิทธิ์รับมรดกเป็น ทายาทลำดับที่ 1,2 และ คู่สมรส จะแบ่งมรดกเป็นสัดส่วนเท่าๆกัน
 
 
 
 
2. กรณีเจ้ามรดกมีผู้มีสิทธิ์รับมรดกเป็น ทายาทลำดับที่ 2 หรือ 3 และ คู่สมรส จะแบ่งมรดกให้คู่สมรส 50% และ ส่วนที่เหลือแบ่งเท่าๆกัน


-----
3.กรณีเจ้ามรดกมีผู้มีสิทธิ์รับมรดกเป็น ทายาทลำดับที่ 4 หรือ 5 หรือ 6 และ คู่สมรส จะแบ่งมรดกให้คู่สมรส 2 ใน 3 และ ส่วนที่เหลือแบ่งเท่าๆกัน
 
 
-----
 
4.กรณีเจ้ามรดกไม่มีผู้มีสิทธิ์รับมรดกเป็นทายาททั้ง 6 ลำดับ มรดกจะตกเป็นของคู่สมรส 100%
 
 
-----
จะเห็นได้ว่า คู่สมรสหลังจากได้รับสินสมรสกึ่งหนึ่งแล้ว ยังมีสิทธิ์เป็นทายาทโดยธรรมได้อีก จึงอาจจะได้รับมรดกเกือบทั้งหมดของเจ้ามรดกเลยก็ได้ค่ะ
 
แต่การเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่มีเพียงแค่ด้านบวกในกรณีมีทรัพย์มรดกเท่านั้น แต่มีส่วนในความรับผิดชอบในภาระหนี้สินต่างๆอีกด้วย
 
ดังนั้นหากไม่ต้องการสร้างพันธะทางกฎหมายร่วมกัน การทำพินัยกรรมเอาไว้ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการส่งมอบทรัพย์สินที่สร้างมาร่วมกันให้กับคู่ชีวิต โดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรสก็ได้ค่ะ
 
อ่านเรื่องการทำพินัยกรรมเพิ่มเติมได้ที่
แหล่งข้อมูลอ้างอิง https://bit.ly/370Z7kN
 
หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยค่ะ
ติดตามบทความอื่นๆได้ที่ https://bit.ly/3kz80W

วางแผนเกษียณ


  • คุณวางแผนการเงินไว้รับมือกับ ภาวะวิกฤตได้ดีพอหรือเปล่า ภาวะวิกฤตทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้น อาจเป็นสิ่งที่เราเคยทราบมาก่อนจากการเกิดกับคนอื่น หรือ ไม่เคยพบเห็นมาก่อนเลยก็ได้ ผ...

  • ปิรามิดทางการเงิน (Financial Planing Pyramid) ช่วยให้เราเรียงลำดับความสำคัญของแผนการเงินได้อย่างถูกต้อง เพราะแผนการเงินที่มั่นคงไม่ใช่เพียงแค่ความมั่งคั่ง แต่ต้องมั่นคง ปลอดภัย มีป...

  • 23 ทรัพย์สินที่ควรครอบครองเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงิน 23 Assets To Own for Financial Freedom คุณจะมีอิสรภาพทางการเงินได้ ก็ต่อเมื่อคุณมีกระแสเงินสดเป็นรายได้ที่แน่นอนจากทรัพย์สิน...

  • มนุษย์เงินเดือนถึงแม้จะมีเพดานรายได้ที่จำกัด ไม่ได้มีโอกาสร่ำรวยแบบก้าวกระโดดเหมือนเจ้าของกิจการ เพราะต้องอาศัยเวลาและประสบการณ์ ค่อยๆไต่ระดับการเพิ่มขึ้นของรายได้ แต่มนุษย์เงิน...

  • 3 เทคนิคผ่อนบ้านให้หมดไว ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่มีวินัยทางการเงิน "บ้าน" เป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ที่สุดในชีวิตของคนหลายๆคน และเป็นหนี้สินระยะยาวซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาตลอดชีวิตของการทำงานผ่อ...

  • วันนี้ขอนำเรื่องสินสมรสและสินส่วนตัว มาพูดคุยกันในภาษาชาวบ้าน ฉบับฟังกันง่ายๆนะคะ เพื่อทำความเข้าใจในประเด็นสำคัญที่ควรทราบ ให้กับทุกท่านประกอบการวางแผนการเงินส่วนบุคคลค่ะ เนื...

  • ติดตามข่าวของคุณไมค์ พิรัชต์ และ คุณซาร่า คาซิงกินี แล้วรู้สึกเห็นใจผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และภาวนาให้สามารถตกลงกันได้ด้วยดี ไม่ส่งผลเสียต่อน้องแม็กซ์เวลล์ ในระยะยาว ผู้เขียนเล...

  • ประกันสังคมจะมีรูปแบบการประกันตนทั้งหมด3 ประเภทด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 มาตรา คือ มาตรา 33 - พนักงานบริษัทเอกชน (มีนายจ้าง) มาตรา 39 - อดีต ม.33 ที่สมัคร ม.39 ภายใน 6 เดือน (ทำงาน...

  • หากต้องออกจากงาน ทำอย่างไรกับประกันสังคม เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจากโรคระบาด covid-19 และ ปัญหา disruption ต่างๆ ทำให้ บางกิจการต้องปิดตัวลง อาชีพและตำแหน่งงานบางอย่างต้อ...

  • การจัดการค่าใช้จ่าย เป็นขั้นแรกของการสร้างเงินออม ก่อนจะสร้างความมั่งคั่ง คุณต้องหาเงินมาออมให้ได้ก่อน การจัดการรายรับ รายจ่าย เป็นเรื่องแรกที่ทุกควรควรลงมือทำ เพื่อให้มีเงินเหลือไ...

  • คุณเคยจินตนาการถึงทายาท "ลำดับถัดไป" ไว้ไกลแค่ไหน เมื่อไม่มีพินัยกรรม จะแน่ใจได้อย่างไรว่าทรัพย์สินของเราที่หามาด้วยความเหนื่อยยาก จะตกทอดไปสู่ทายาทที่เราคิดไว้ คนที่เราคิดไว้ เ...

  • Cr.ภาพ Pixabay Asset 3 อย่างที่ต้องมีหากเราอายุยืนถึง 100 ปี อีก 10 ปีข้างหน้ามีความเป็นไปได้ว่า อายุขัยของประชากร จะมีค่าเฉลี่ยถึง 100 ปี สิ่งที่มีผลกระทบมากที่สุด คือ กา...

  • ทำความรู้จักกับ HENRYs High Earner Not Rich Yet คนรายได้สูงที่ยังไม่รู้สึกว่าตัวเองรวย

  • 6 วิธีตัดค่าใช้จ่ายของคุณ เพื่อให้เงินที่คุณหามาด้วยความเหนื่อยยาก ใช้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ถ้าหากคุณดูบัญชีเงินเก็บ แล้วมันไม่งอกเงยไปถึงไหน คุณรู้สึกผิดกับตัวเองที่ไม่สามารถเก็บเ...
Visitors: 45,633