ประกันสังคม มาตรา 40 สิทธิประโยชน์ที่ฟรีแลนซ์ไม่ควรพลาด

 

ประกันสังคม จะมีรูปแบบการประกันตนทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 มาตรา คือ

มาตรา 33 - พนักงานบริษัทเอกชน (มีนายจ้าง)

มาตรา 39 - อดีต ม.33 ที่สมัคร ม.39 ภายใน 6 เดือน (ทำงานอิสระไม่มีนายจ้าง)

มาตรา 40 - อาชีพรับจ้างอิสระ หรือที่เรียกว่า ฟรีแลนซ์ หรือ ผู้ประกอบการกิจการส่วนตัว

 

ในแต่ละมาตราจะมีสิทธิ์ประโยชน์ที่แตกต่างกันไป เรียนรู้สิทธิ์ของ ม.33 และ ม.39 ได้ที่

https://www.blockdit.com/posts/6038cdba2eb2f70c0c86246b

ชมคลิป https://youtube.com/playlist?list=PLfjMHZJD-aEqlO5RbUT9FkxB233SVR-Qp

 

การเป็นสมาชิกประกันสังคม คือ เราต้องส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคมทุกเดือน สำนักงานประกันสังคมได้เปิดเผยข้อมูล เมื่อมิถุนายน 2563 ไว้ว่า สมาชิกประกันสังคม มีทั้งหมด 16.3 ล้านคน โดย ม.33 ซึ่งเป็นภาคบังคับจากการทำงานแบบมีนายจ้าง มีจำนวนสมาชิด 11.3 ล้านคน ส่วน ม.39 ที่สมัครต่อเนื่องหลังจากลาออกจากงาน ม.33 มีจำนวน 1.7 ล้านคน ส่วน ม.40 เป็นการสมัครแบบภาคสมัครใจ มีจำนวน 3.4 ล้านคน ซึ่งถือว่ายังจำนวนไม่มากนักถ้าเทียบกับจำนวนประชากร 70 ล้านคนทั่วประเทศ เพราะอาจจะยังไม่เห็นความสำคัญและเข้าใจในสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

แต่ในเวลานี้ มาตรา 40 เริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้น เมื่อรัฐใช้เป็นฐานข้อมูลในการเลือกจ่ายเงินเยียวยา จากข้อมูลผู้ประกันตนของประกันสังคม โดยกระตุ้นให้คนทำงานอาชีพอิสระ สมัครเข้าระบบเพื่อขึ้นทะเบียน

-----

มาทำความรู้จักสิทธิประโยชน์ของ มาตรา 40 กันค่ะ แล้วพิจารณาดูว่าควรสมัครหรือไม่

ประกันสังคมมาตรา 40 แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ตามยอดเงินสมทบ

ประกันสังคมมาตรา 40 รูปแบบที่ 1 จ่าย 70 บาท

ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 100 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณีคือ

เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย วันละ 300 บาท

เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน

เงินค่าทำศพ 25,000 บาท และเงินสมทบอีก 8,000 (กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน)

-----

ประกันสังคมมาตรา 40 รูปแบบที่ 2 จ่าย 100 บาท

ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 100 บาท รัฐจ่ายสมทบ 50 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 150 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณีคือ

เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย วันละ 300 บาท

เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน

เงินค่าทำศพ 25,000 บาท และเงินสมทบอีก 8,000 (กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน)

เงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

เรียนรู้เพิ่มเติมเงื่อนไขการรับบำเหน็จ บำนาญชราภาพ มาตรา 40 ได้ที่ https://bit.ly/3iZZX6V

-----

ประกันสังคมมาตรา 40 รูปแบบที่ 3 จ่าย 300 บาท

รูปแบบที่ 3 คือรูปแบบที่เพิ่มเข้ามาใหม่เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมให้ใกล้เคียงกับแรงงานในระบบ โดยเราต้องจ่ายค่าประกันตน 300 บาท รัฐจ่ายสมทบ 150 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 450 บาท แต่จะได้รับความคุ้มครองมากถึง 5 กรณีเลยทีเดียว คือ

เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย ถ้านอนโรงพยาบาลจะได้รับวันละ 300 บาท ถ้าแพทย์สั่งให้หยุดงาน 3 วันขึ้นไป แต่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล จะได้รับวันละ 200 บาท

เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน (ตลอดชีวิต)

เงินค่าทำศพ 50,000 บาท

เงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200 บาทต่อเดือน ตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ (ไม่เกิน 2 คน)

เงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

-----

เงื่อนไข คุณสมบัติผู้สมัครรับสิทธิประกันสังคมมาตรา 40

• สัญชาติไทย
• อายุ 15 – 65 ปีบริบูรณ์
• เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
• ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน ที่มีประกันตน ม.33 อยู่แล้ว
• ไม่เป็นผู้ประกันตน ม.39
• ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
• เป็นผู้ถือบัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 ยกเว้น 00

 

 

-----

วิธีการสมัครรับสิทธิประกันสังคมมาตรา 40

• สมัครด้วยตัวเองที่สำนักงานประกันสังคม
• สมัครผ่านเว็บไซต์ ประกันสังคม www.sso.go.th
• สมัครที่ 7-11, Big C , ธนาคาร ธกส ทุกสาขา
• สมัครทางสายด่วนประกันสังคม 1506
• เลือกลงทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40

-----

สิ่งที่ต้องทำ คือ กรอกข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลอื่นๆ

เลือกรูปแบบเงินสมทบที่จะต้องจ่ายทุกเดือน
มี 3 รูปแบบ คือ 70 บาท 100 บาท และ 300 บาท

ระบบจะยืนยันการสมัครผ่าน SMS ทันที

เมื่อได้รับ SMS ให้ไปชำระเงินค่าลงทะเบียนที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส โลตัส บิ๊กซี ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรี ตู้บุญเติม หรือ Shopee pay

-----

หลักฐานประกอบการสมัคร

▪️สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่

▪️แบบการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส.1-40) ดาวน์โหลด

-----

การจ่ายเงินสมทบ ผู้ประกันตนมาตรา 40

การจ่ายเงินสมทบ เลือกได้ว่าจะชำระเป็นเงินสด ผ่านช่องทางต่างๆมากมาย หรือเลือกหักผ่านบัญชีธนาคาร ซึ่งจะต้องส่งเงินสมทบทุกเดือน

วิธีชำระง่ายที่สุดคือ ชำระที่ 7-11 โดยแจ้งเลขบัตรประชาชน ข้อมูลของเราจะขึ้นมา แล้วก็จ่ายได้เลย

-----

***มาตราการช่วยเหลือพิเศษตอนนี้ สำหรับเงินสมทบที่ต้องจ่าย ตามมติครม. ให้จ่ายเพียงร้อยละ 60 ของจำนวนเดิม เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ สิงหาคม 2564 – มกราคม 2565***

จากเดิมจ่าย 70 บาท เหลือ 42 บาท / เดือน

จากเดิมจ่าย 100 บาท เหลือ 60 บาท / เดือน

จากเดิมจ่าย 300 บาท เหลือ 180 บาท / เดือน

-----

• Q&A ยอดฮิต •

Q : เคยอยู่ ม.33 และปัจจุบันไม่ได้จ่ายเงินสมทบในมาตราไหน สามารถสมัคร ม.40 ได้หรือไม่ จะกระทบเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพที่รอรับตอนอายุ 55 ปี ไหม
A : สมัครได้ไม่กระทบ โดยการสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จชราภาพ สำหรับทางเลือกที่ 2 และ 3 จะแยกออกมาต่างหากอีกกอง คือ เริ่มสมทบใหม่

Q : การสมัคร ม.40 จะเสียสิทธิ์การใช้บัตรทองไหม
A : ยังใช้สิทธิ์บัตรทองได้เหมือนเดิม เพราะ ม.40 ไม่มีคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล สิทธิ์หลักๆ จะเป็นการชดเชยการสูญเสียรายได้ ค่าทำศพ และสมทบกองทุนชราภาพ

-----

•บทสรุป•

มาตรา 40 ถึงแม้จะไม่มีค่ารักษาพยาบาล ซึ่งสามารถไปใช้สิทธิ์บัตรทองได้เหมือนเดิม แต่มาตรา 40 จะให้สิทธิประโยชน์ในเรื่องของการชดเชยการสูญเสียรายได้หากเกิดการเจ็บป่วย และ ทุพพลภาพเป็นหลัก ซึ่งสำคัญมากสำหรับอาชีพอิสระ ที่ต้องหารายได้ทุกวัน หากวันไหนหยุดทำงาน ก็จะไม่มีรายได้ ไม่เหมือนกับคนที่มีนายจ้าง หากหยุดงานในช่วงสั้นๆจากการเจ็บป่วย ก็ยังมีรายได้จากเงินเดือนประจำอยู่

นอกจากนี้ มาตรา 40 ยังมีเงินชดเชยค่าทำศพ ไม่ให้คนข้างหลังต้องมารับภาระค่าใช้จ่ายนี้

และทางเลือกที่ 2 กับ 3 ยังเปิดโอกาสให้ออมในกองทุนบำเหน็จชราภาพ ซึ่งประกันสังคมจะนำเงินไปบริหารการลงทุนให้ แนวโน้มได้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากธนาคารปกติ และได้เก็บออมเงินแบบสม่ำเสมอ มีวินัย ต่อเนื่อง เป็นเงินก้อนเกษียณได้อีกด้วย

มาตรา 40 เป็นภาคสมัครใจที่รัฐให้การสนับสนุนผลประโยชน์ร่วมด้วย ในความเห็นของผู้เขียน จำนวนเงินสมทบที่จ่ายเข้าไป เทียบกับนำเงินจำนวนเท่ากันไปซื้อประกันในรูปแบบต่างๆ ถือว่า มาตรา 40 จ่ายเงินที่น้อยกว่าเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับกลับมาเท่าๆกัน ดังนั้น การสมัครมาตรา 40 เป็นสิทธิ์ประโยชน์ที่รัฐมอบให้ เราก็ควรรักษาสิทธิ์นั้น ถึงแม้ว่าการสมัครอาจจะไม่เข้าเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยา ก็ได้สิทธิประโยชน์ตามสมควรของมาตรา 40 แล้ว

 

•ข้อมูลอ้างอิง•

https://www.thebangkokinsight.com/news/business/399707/

https://bit.ly/3iZZX6V

https://youtube.com/playlist?list=PLfjMHZJD-aEqlO5RbUT9FkxB233SVR-Qp

วางแผนเกษียณ


  • คุณวางแผนการเงินไว้รับมือกับ ภาวะวิกฤตได้ดีพอหรือเปล่า ภาวะวิกฤตทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้น อาจเป็นสิ่งที่เราเคยทราบมาก่อนจากการเกิดกับคนอื่น หรือ ไม่เคยพบเห็นมาก่อนเลยก็ได้ ผ...

  • ปิรามิดทางการเงิน (Financial Planing Pyramid) ช่วยให้เราเรียงลำดับความสำคัญของแผนการเงินได้อย่างถูกต้อง เพราะแผนการเงินที่มั่นคงไม่ใช่เพียงแค่ความมั่งคั่ง แต่ต้องมั่นคง ปลอดภัย มีป...

  • 23 ทรัพย์สินที่ควรครอบครองเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงิน 23 Assets To Own for Financial Freedom คุณจะมีอิสรภาพทางการเงินได้ ก็ต่อเมื่อคุณมีกระแสเงินสดเป็นรายได้ที่แน่นอนจากทรัพย์สิน...

  • มนุษย์เงินเดือนถึงแม้จะมีเพดานรายได้ที่จำกัด ไม่ได้มีโอกาสร่ำรวยแบบก้าวกระโดดเหมือนเจ้าของกิจการ เพราะต้องอาศัยเวลาและประสบการณ์ ค่อยๆไต่ระดับการเพิ่มขึ้นของรายได้ แต่มนุษย์เงิน...

  • 3 เทคนิคผ่อนบ้านให้หมดไว ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่มีวินัยทางการเงิน "บ้าน" เป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ที่สุดในชีวิตของคนหลายๆคน และเป็นหนี้สินระยะยาวซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาตลอดชีวิตของการทำงานผ่อ...

  • วันนี้ขอนำเรื่องสินสมรสและสินส่วนตัว มาพูดคุยกันในภาษาชาวบ้าน ฉบับฟังกันง่ายๆนะคะ เพื่อทำความเข้าใจในประเด็นสำคัญที่ควรทราบ ให้กับทุกท่านประกอบการวางแผนการเงินส่วนบุคคลค่ะ เนื...

  • ติดตามข่าวของคุณไมค์ พิรัชต์ และ คุณซาร่า คาซิงกินี แล้วรู้สึกเห็นใจผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และภาวนาให้สามารถตกลงกันได้ด้วยดี ไม่ส่งผลเสียต่อน้องแม็กซ์เวลล์ ในระยะยาว ผู้เขียนเล...

  • หากต้องออกจากงาน ทำอย่างไรกับประกันสังคม เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจากโรคระบาด covid-19 และ ปัญหา disruption ต่างๆ ทำให้ บางกิจการต้องปิดตัวลง อาชีพและตำแหน่งงานบางอย่างต้อ...

  • การจัดการค่าใช้จ่าย เป็นขั้นแรกของการสร้างเงินออม ก่อนจะสร้างความมั่งคั่ง คุณต้องหาเงินมาออมให้ได้ก่อน การจัดการรายรับ รายจ่าย เป็นเรื่องแรกที่ทุกควรควรลงมือทำ เพื่อให้มีเงินเหลือไ...

  • รู้หรือไม่ว่าการรับมรดกของคู่สมรส ไม่ใช่ครึ่งหนึ่งของมรดก แต่อาจจะมากกว่านั้น วันนี้เรามาดูวิธีการแบ่งมรดกของคู่สมรสกันค่ะ เริ่มจาก "คู่สมรส" ที่มีสิทธิ์ได้รับมรดก ต้องเป็นคู่...

  • คุณเคยจินตนาการถึงทายาท "ลำดับถัดไป" ไว้ไกลแค่ไหน เมื่อไม่มีพินัยกรรม จะแน่ใจได้อย่างไรว่าทรัพย์สินของเราที่หามาด้วยความเหนื่อยยาก จะตกทอดไปสู่ทายาทที่เราคิดไว้ คนที่เราคิดไว้ เ...

  • Cr.ภาพ Pixabay Asset 3 อย่างที่ต้องมีหากเราอายุยืนถึง 100 ปี อีก 10 ปีข้างหน้ามีความเป็นไปได้ว่า อายุขัยของประชากร จะมีค่าเฉลี่ยถึง 100 ปี สิ่งที่มีผลกระทบมากที่สุด คือ กา...

  • ทำความรู้จักกับ HENRYs High Earner Not Rich Yet คนรายได้สูงที่ยังไม่รู้สึกว่าตัวเองรวย

  • 6 วิธีตัดค่าใช้จ่ายของคุณ เพื่อให้เงินที่คุณหามาด้วยความเหนื่อยยาก ใช้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ถ้าหากคุณดูบัญชีเงินเก็บ แล้วมันไม่งอกเงยไปถึงไหน คุณรู้สึกผิดกับตัวเองที่ไม่สามารถเก็บเ...
Visitors: 49,679